วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

BIM การปรับตัว และวิธการทำงานโดยใช้ข้อมูลร่วมกัน

วันนี้มีสองเรื่องครับ เรื่องแรกเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมามี CEO มาเยี่ยมที่สำนักงานเมืองไทย ได้มีการประชุมร่วมกัน มีการนำเสนอผลงานที่ทำเสร็จไปแล้วและงานที่กำลังทำอยู่ด้วย BIM ของประเทศไทยให้เค้าดู ซึ่งมียี่สิบกว่าโครงการ ก็ดูเค้าชื่นชมดีแต่ดูเหมือนเค้าจะไม่ค่อยตื่นเต้นเท่าไหร่ ในใจผมคิดว่าเค้าไปมาหลายที่แล้วคงเห็นมาแยะคงธรรมดาสำหรับเค้าไปแล้วตอนนี้ เมื่อแสดงผลงานเสร็จก็ถึงทาง CEO บ้างเค้าถามว่า "เราจะปรับตัวอย่างไรในสถานะการนี้" โลกหมุนเร็วขึ้น ทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีข้อมูลมากมายในอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์เครื่องเดียวสามารทำได้ทุกอย่าง รับเมล์ ส่งข้อความ คิดเลข ดูแบบ ทำธุระกรรมทางการเงิน แปลภาษา ถ่ายรูป ดูหุ้น ความบันเทิงต่างๆ ส่วนการพัฒนาเรื่องอื่นๆเช่น มีรถไฟฟ้าขับเองได้ เครื่องดูดฝุ่นอัตโนมัติ มี AI ช่วยตัดสินใจแทนมนุษย์ จนมาถึงระบบการก่อสร้าง เริ่มมีใช้โดรน การนำหุ่นยนต์ก่อสร้างมาทำงานแทนคน การพัฒนาโปรแกรมต่างๆ ช่วยในการออกแบบ ซึ่งตอนนี้โลกที่เราเคยรู้จักเปลี่ยนไปหมดแล้ว และไม่มีวันกลับไปเป็นเหมือนเดิม ค่าออกแบบในการก่อสร้างลดลงไปเรื่อยๆ เงินเดือนพนักงานสูงขึ้น การออกแบบและก่อสร้างต้องเร็วขึ้นถูกต้องมากขึ้น รูปร่างอาคารแปลกและเร้าใจมากขึ้น ถ้าเราสู้ด้วยราคาก็เตรียมปิดได้เลย

"เราจะปรับตัวอย่างไร" เป็นคำถามที่จะเป็นทางรอดของเราในการทำธุระกิจนี้ และการทำ Revit ไม่ใช่คำตอบ เพราะทุกคนตอนนี้เค้าทำกันได้หมดแล้ว ก็คือไม่แตกต่าง อีกปีสองปีก็กลายเป็นเรื่องธรรมดา ไม่สามารถนำมาเพิ่มมูลค่างานออกแบบได้อีก ไม่แตกต่างจากผู้ออกแบบเจ้าอื่น พัฒนาไปเป็น LOD 400, 500 เราต้องปรับเปลี่ยนการทำงาน พัฒนารูปแบบการทำงาน นำ digital มาช่วยให้มากขึ้นโดยใช้คนทำงานให้น้อยลง หาแหล่งแรงงานคุณภาพดีราคาถูก การเรียนรู้และใช้โปรแกรมมาช่วยทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดเวลา และลดการทำงานซ้ำซ้อน แก้แล้วแก้อีก ระดมความคิดเรียนรู้จากความผิดพราดเพื้อป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำอีก "เราถึงจะรอดจากสถานะการนี้" ไม่อย่างนั้นเราก็จะเหมือน Nokia ที่หมุนตามโลกไม่ทัน

อีกเรื่องคือการนำ BIM มาทำงานร่วมกัน ซึ่งตอนนี้ก็เห็นนำมาใช้มากขึ้น แต่บางคนหรือบางบริษัทยังไม่เข้าใจการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันเท่าที่ควร ยังใช้พลังงานกับการทำ โมเดลให้เหมือนโดยไม่จำเป็น Overload information แต่ไม่ใส่ใจข้อมูล ที่ต้องนำมาใช้ และการคิดถึงคนที่อยู่ในกระบวนการทำงานด้วย สิ่งที่ผมเห็นเช่น โมเดล architect ทำ family ประตูหน้าต่างเหมือนจริงขนาดใส่บานพับเข้าไปด้วย ประตูม้วนทำริ้วบานเป็นแผ่นๆ ประหนึ่งว่าสามารถนำจำนวนแผ่นเหล็กได้เลย การใส่รายละเอียดโต๊ะเก้าอี้ต่างๆ โมเดล mep ใส่รายระเอียดปั๊ม อุปกรณ์ ต่างๆ เหมือนจริง ใส่น๊อตหน้าแปลนข้อต่อท่อ ใส่เข็มวัดค่าในเก็ตวัดต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น เมื่อพิมพ์เป็นกระดาษออกมาก็มองไม่เห็น โดยเมื่อนำโมเดลเหล่านี้มาทำงานปัญหาแรกที่พบคือไฟล์ใหญ่และหนักมากเสียพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล สองคือเสียเวลาในการต้องรอให้เครื่องประมวณผล สามต้องเสียเงินเพื่อหาเครื่องที่มีประสิทธิภาพมาทำงานโดยไม่จำเป็น สุดท้ายไม่สามารถนำโมเดลไปใช้ต่อได้ ก็เปรียบเหมือนขยะ digital ดีๆ นี่เอง ก็ขอฝากทุกท่านที่ทำงานในสายนี้ ขอให้คำนึงถึงข้อมูลเป็นอันดับแรก สิ่งที่เราใส่เข้าไปในโมเดลคือสิ่งที่ต้องนำออกมาใช้ มิใช่จะเอามันส์เอาเหมือนอย่างเดียว




วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

Revit การใช้ Analyze ช่วยในการตรวจสอบแบบ

ใหนๆ ก็ใช้ Revit ในการทำ Model เพื่อทำแบบแล้ว เรายังสามารถให้โปรแกรมช่วยตรวจสอบความถูกต้องค่าต่างๆ ได้อีกด้วย โดยใช้ คำสั่งในส่วน Analyze ช่วยตรวจสอบความเร็วลมได้ จากตัวอย่าง เราใช้คำสั่ง Analyze > Color Fill > Duct Legend แล้วกำหนดค่าต่างๆ ตามข้อกำหนดการออกแบบ ซึ่งจะทำให้ผู้ออกแบบทราบว่าจะต้องปรับขนาด Duct ช่วงใหนเพื่อความแหมาะสม



ซึ่งคำสั่งในส่วน Analyze ยังมีประโยชน์อีกมาก ทั้งในส่วนการแสดงความลาดเอียงของท่อ และ pressure ต่างๆ ลองเข้าไปเล่นกันดู