เป็นการเขียน Dynamo โดยใช้คำสั่งง่ายๆ แต่ได้ประโยชน์แยะมากเวลาที่จะต้องต่อ งานระบบอุปกรณ์เช่น Duct, Pipe, Cable Tray ต่างๆ ที่จำนวนมากๆ โดยที่เราต้องใช้ร่วมกับ Package MEPover
BIM, Autodesk Revit, Revit Family, MEP, Dynamo, Navisworks, AutoCAD, Bluebeam, Revizto, BIM 360 , Autodesk Certification MEP , MEP Modelling
วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2566
วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2566
Revit + Dynamo ช่วยงานรถไฟฟ้าใต้ดิน
ช่วงนี้มีโอกาสทำงานที่ไม่เคยทำมาก่อนเลย ซึ่งเป็นงานเฉพาะ คืองานรถไฟฟ้าใต้ดินและงานอุโมง ซึ่งการที่จะใช้ Revit อย่างเดียวในการทำงานทั้งหมดมันคงเป็นไปได้ยากหรืออาจจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะงานประเภทนี้จะโค้งไปมาและลาดเอียง จึงลำบากและในการวางอุปกรณ์ต่างๆ เองแบบ Manual เหมือนงานอาคาร เพราะฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เครื่องมืออื่นเข้ามาช่วยทำงาน ซึ่งในที่นี้ผมใช้โปรแกรม Civil 3D ในการนำค่า Alignment ออกมา (ไม่เคยใช้มาก่อน งงเ งง อยู่หมือนกัน) แล้วใช้ Dynamo เพื่อช่วยวางอุปกรณ์งาน MEP เข้าไปใส่ตามแนวเส้นที่ได้ค่ามาจาก Civicl 3D
ขั้นตอนที่ผมคิดว่าจะใช้คือ
1. ใช้ Civil 3D ในการสร้าง Alignment แล้วนำค่าออกเป็น LANDXML (หรือถ้าเรามี Alignment เป็น 3D Polyline จากโปรแกรมอื่นก็สามารถนำเข้ามาใน Civil 3D แล้วนำค่าออกมาเป็น LANDXML ได้เหมือนกัน)
2. ใช้ Dynamo ในการนำค่าที่ได้จาก Civil 3D แล้วมาใส่อุปกรณ์งาน MEP ต่างๆ ซึ่งการใช้ dynamo จะต้องเขียนแยกเฉพาะสำหรับการใส่อุปกรณ์ Pipe, Cable Tray, Conduit และแยกสำหรับการวางอุปกรณ์ต่างๆ เช่น Lighting , Equipment , FHC โดยอุปกรณ์บางชนิดจะต้องทำ Family เพิ่มโดยการใช้ Adaptive Family เพื่อให้ได้รูปร่างหน้าตาและขนาดที่ถูกต้อง และง่ายต่อการทำงานในการนำมาวางในอุโมง ซึ่งโชคดีมากที่บริษัทที่ทำงานอยู่ มีคนเขียน Dynamo เพื่อการอ่านค่าจาก Landxml ไฟล์ไว้แล้ว จึงช่วยให้เขียนง่ายขึ้น แล้วก็นำค่าที่ได้ไปใช้รวมกับ MEPOVER Package ในการช่วยวางอุปกรณ์
3. ใช้ Revit ในการทำส่วนที่เหลือที่ไม่สามารถใช้ Dynamo ช่วยได้เช่นการต่อท่อในจุดต่างๆ
ปัญหาที่พบตอนนี้คือ
- การต่ออุปกรณ์ในอุโมง เช่น Pipe, Cable Tray, Conduit ไม่สามารถใส่ Fitting ได้เพราะองศามันเล็กไป
- ถ้ามีการแก้ไขแบบ จะต้องลบอุปกรณ์ทิ้งทั้งหมดแล้วทำการวางอุปกรณ์ใหม่
- ทางเชื่อมระหว่างอุโมง (Cross Passage) ต้องใช้ manual เป็นส่วนใหญ่