เสร็จภาระกิจปลายปี 2017 ไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับการฝึกอบรม Autodesk Revit MEP 2018 ให้กับทางบริษัทท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (AOT) และ บริษัท MUU ต้องขอขอบคุณ บริษัททูพลัส ที่ให้ความไว้วางใจมอบหมายให้เป็นวิทยากรในการฝึกอบรมครั้งนี้
การฝึกอบรมครั้งนี้ผมได้มีโอกาศแลกเปลี่ยนข้อมูล และความคิดเห็นกับหลายๆ ท่านที่เข้ามาอบรม โดยบางหัวข้อผมไม่เคยทราบข้อมูลมาก่อนทำให้ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมซึ่งเป็นประโยชน์มากในอนาคต
สวัสดีปีใหม่...
BIM, Autodesk Revit, Revit Family, MEP, Dynamo, Navisworks, AutoCAD, Bluebeam, Revizto, BIM 360 , Autodesk Certification MEP , MEP Modelling
วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2560
วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
Revit Add-in Align
Revit ยังขาดเครื่องมือในการทำงานหลายๆ อย่าง แต่ก็มีผู้พัฒนาเครื่องมือเพื่อเสริมให้โปรแกรมสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น วันนี้ผมมีเครื่องมือที่จะมาช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้นคือ Align เป็น Add-in เพื่อช่วยในการจัดวางอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ รวมไปถึงวัตถุที่เป็น Annotation ต่างๆด้วย ที่สำคัญฟรีครับ สามารถ หาdownload ได้จากลิงค์ด้านล่างนี้
https://apps.autodesk.com/ACD/en/Detail/Index?id=2903508825431715905&appLang=en&os=Win32_64&autostart=true
หลังจากเราติดตั้งโปรแกรมแล้วจะอยู่ในแทปของ Add-Ins วิธีการใช้งานคือเลือกที่วัตถุที่เราต้องการจัด แล้วเลือกที่แทป Add-Ins เลือกคำสั่งเลือกรูปแบบต่างๆโดยดูจาก Icon ว่าเราจะจัดแนวใหน ลองไปเล่นกันดูครับ
https://apps.autodesk.com/ACD/en/Detail/Index?id=2903508825431715905&appLang=en&os=Win32_64&autostart=true
หลังจากเราติดตั้งโปรแกรมแล้วจะอยู่ในแทปของ Add-Ins วิธีการใช้งานคือเลือกที่วัตถุที่เราต้องการจัด แล้วเลือกที่แทป Add-Ins เลือกคำสั่งเลือกรูปแบบต่างๆโดยดูจาก Icon ว่าเราจะจัดแนวใหน ลองไปเล่นกันดูครับ
วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
Navisworks กำหนดขนาดรูปที่จะ Export Viewpoints Report...
เมื่อเราต้องการจะส่งภาพ ViewPoints ออกจาก Navisworks จะต้องกำหนดขนาดภาพ เสียก่อนเพื่อให้ได้ขนาดที่ถูกต้องไม่เล็กเกินไป
โดยกดที่ N > กดปุ่ม Shift ค้างไว้ แล้วกดที่ Options เลือก Interface > Viewpoint Defaults แล้วทำการกำหนดขนาด Image Height และ Image Width เสร็จแล้วให้กด OK
หลังจากนั้นเราสามารถ Export มุมมองที่เก็บไว้โดย คลิกขวาที่ Saved Viewpoints เลือก Export Viewpoints Report... กำหนดโฟล์เดอร์ที่จะเก็บไฟล์ เท่านี้ก็จะได้ภาพ Viewpoint ตามขนาดที่ต้องการแล้วครับ
โดยกดที่ N > กดปุ่ม Shift ค้างไว้ แล้วกดที่ Options เลือก Interface > Viewpoint Defaults แล้วทำการกำหนดขนาด Image Height และ Image Width เสร็จแล้วให้กด OK
หลังจากนั้นเราสามารถ Export มุมมองที่เก็บไว้โดย คลิกขวาที่ Saved Viewpoints เลือก Export Viewpoints Report... กำหนดโฟล์เดอร์ที่จะเก็บไฟล์ เท่านี้ก็จะได้ภาพ Viewpoint ตามขนาดที่ต้องการแล้วครับ
วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2560
Revit Certification Electrical and Mechanical
วันนี้ขอเล่าประสบการณ์ไปทดสอบ Revit Certification 2017 มาครับ ซึ่งถ้าใครไป Autodesk University 2017 มาจะได้รับของกำนันหลายอย่าง เช่น กระเป๋าโน๊ตบุ๊ค เลโก้ ฯลฯ แต่ที่ผมชอบที่สุดคือ Voucher สำหรับ Autodesk Certified Professional Exam เพื่อนำไปทดสอบวัดความรู้โปรแกรมที่เป็นผลิตภัณฑ์ ของ Autodesk ซึ่งผมได้มาหนึ่งใบ และตบของน้องที่ทำงานอีกใบ(ตอนแรกตบมาได้ 4 ใบ แต่โดนเค้ารุมด่าเลยต้องคืนเค้าไป ตั้งใจจะไปทดสอบทั้งหมดเลย Architecture, Electrical, Mechanical, Structure) เลยมีแค่สองใบ เอาก็เอาว๊ะ
หลังจากตกลงใจจะไปก็จัดการทำตามขั้นตอนด้านขวาของ Voucher ที่ได้มา...ไม่ผ่านครับ ไม่รู้เป็นไรระบบล่ม ก็เลยโทรไปที่ศูนย์สอบ ของ M-tech เพราะตั้งใจจะไปสอบที่นี่ซึ่งใกล้ที่สุด โดยติดต่อคุณ Paritta (น้องใหน) น้องเค้าก็ดี๊ดี ช่วยเหลือทุกอย่างเลย โดยจริงๆแล้ว เค้ามีวันที่ 19 แล ะ25 ที่จะเปิดสอบแต่น้องเค้าก็ขออนุญาตนายให้ เลยสรุปว่าจะเปิดวันสอบเพิ่มให้อีกวันคือ วันจันทร์ที่ 11 กันยา โดยจะสอบเช้าบ่ายวันเดียวเลยเพราะผมมีสองใบ หลังจากวางสายกับน้องใหนแล้ว ก็ถึงคราวโทรหา N' Suriyan (น้องโอ๋) เพื่อสอบถามแนวข้อสอบ น้องเค้าก็ดี๊ดี แนะนำแยะเลยครับตบท้ายด้วย พี่ผ่านอยู่แล้ว (พูดคำนี้มาเครียดเลยตู...รู้สึกกดดัน ตอนแรกยังรู้สึกสบายอยู่เลย)
วันสอบ...ตื่นตี 4:30 นอนไม่หลับ เลยออกเร็วหน่อยไปถึง 6 โมงครึ่ง (ตูมาทำบ้าไรแต่เช้าเนี้ย) เลยนอนในรถรอเวลา พอ 7 โมงครึ่งก็หาอาหารเช้ากับกาแฟกิน นั่งทบทวนถึง 9 โมง ลุย... ขึ้นไปพบน้องใหน (น่ารักอย่างที่คิดไว้) น้องเค้าแจ้งว่าระบบมีปัญหาพี่รอแป๊บน๊ะกำลังแก้อยู่ ต้อง Update ระบบก่อน (ได้เลยน้องพี่ไม่รีบมีเวลาทั้งวัน) น้องเค้าก็ดูแลดีแต่ระบบช้ามาก ก็รอจนได้สอบประมาณ 11 โมงครึ่ง คุณพอลเลยบอกให้น้องเค้าสั่งข้าวมาให้ทาน (โชคดีจริงวันนี้ สอบฟรี ข้าวฟรี จอดรถฟรี)
เริ่มสอบ Mechanical ก่อนเลย 35 ข้อ 120 นาที ภาษาอังกฤษล้วน(อันนี้น่าจะเป็นกำแพงขนาดใหญ่ที่คนส่วนใหญ่ไม่มาสอบกัน แต่แนะนำเลยครับคำถามไม่ยากครับใครทำ Revit ประจำๆน่าจะพอเดาได้) คะแนนต้องเกิน 700 แค่นี้สบาย...แต่ทำมายมือเย็น ใจเต้นเร็วหว่า สงสัยเป็นเพราะกาแฟเย็น กับแอร์ การสอบจะต้องสลับไปมาระหว่างหน้าจอคำถามและโปรแกรม Revit โดยกดปุ่ม Alt + Tab คำถามจะสั่งให้เปิดไฟล์แล้วให้ทำตามขั้นตอนต่างๆ แล้วก็ให้นำคำตอบมาใส่ในช่องว่าง ซึ่งสิ่งที่แตกต่างจากที่เคยสอบของ Architect เมื่อสองสามปีก่อนคือ เวลาใส่ตัวเลขจะมีหน่อยให้ว่าจะใส่ค่าของหน่อยอะไร และตัวเลขกี่ทศนิยมโดยแสดงเป็นสัญลักษณ์ ###.## แสดงว่าตัวเลขหน้าสามตัวทศนิยมสองตำแหน่ง ซึ่งอันนี้ช่วยได้มากในการเดาว่าเราตอบถูกหรือเปล่า คำถามบางข้อให้ทำตามขั้นตอนต่างๆ แต่ตอนถามดันถามไม่เกี่ยวกับสิ่งที่ให้ทำเลยก็มี บางข้อก็ให้เข้าไปถึง Family บางข้อก็ให้ทำตามแล้วจึงจะได้คำตอบออกมา บางข้อก็กำกวมมาก หลังจากทำไปถึงข้อ 35 ก็กด Next จะมีข้อความแจ้งว่าถ้ากด ต่อจะส่ง Submit คะแนนไปตรวจ ย้อนกลับมาไม่ได้แล้วน๊ะ ซึ่งเวลาผมเหลือตั้ง 2 นาที...กดเลย ไม่มีอะไรจะเสีย รอแก๊กนึง มีหน้าจอสีน้ำเงินขึ้นมา ตอนนี้เบลอไปหมดอ่านไม่รู้เรื่องเลยต้องตั้งสติดูใหม่ โอ้วตูได้ Passed แล้ว Score : 940
แม้งโคตรเดาเก่งเลย หมดแรงเลย กินข้าวฟรีดีกว่า กินไป 10 นาทีแบบเบลอๆ เสร็จแล้วเรียกน้องใหน ให้มาช่วยเปิดข้อสอบของ Electrical ต่อ น้องเค้าบอกว่าเดียวค่อยปริ้นใบ Certificate ทีเดียวเลยน๊ะพี่ (แหมพูดเป็นรางดี รู้ได้ไงว่าเราจะผ่าน)
เริ่มสอบ Electrical เหมือนเดิมครับแต่ไม่ค่อยเครียสเท่าไหร่ เพราะไม่ค่อยหวังอะไรมากขึ้เกลียดแล้วด้วย ทำไปประมาณ 50 นาทีเสร็จ กด Submit เลย โอ้วตูได้ Passed อีกแล้ว Score : 820 แม้งโคตรเดาเก่งเลย
หลังจากนั้นน้องเค้าก็มาเอาข้อมูลไปปริ้นให้ได้ใบ Certificate และ Score ออกมา แล้วก็ถ่ายรูปตามระเบียบ (เสียดายไม่ได้ถ่ายคู่น้องใหน) สรุปเสร็จตอน 4 โมงครึ่ง ถึงการสอบครั้งนี้จะมีอุปสรรค์บ้างนิดหน่อยแต่ก็มันส์ดี และจบลงได้ด้วยดี
เทคนิคในการทำข้อสอบ (เพิ่มเติมวันที่ 08-08-2018)
1. เปิดไฟล์ใหม่ทุครั้งในการทำข้อสอบหัวข้อใหม่ อย่าใช้อันเก่าที่ทำไปแล้วเพราะว่าบางครั้งเราแก้ไขค่าบางค่าไปแล้วทำให้อาจจะได้คำตอบที่ไม่ถูกต้อง
2. อ่านคำถามให้เข้าใจแล้วถึงเริ่มทำ (คำถามบางข้ออย่าคิดแยะ)
3. ทำตามทุกขั้นตอนที่โจทย์บอกให้ทำ
4. การเลือกคำตอบมาใส่ในช่องคำตอบ ให้ดูหน่วยที่เค้าต้องการให้ดี
5. ใช้ Alt + Tab เพื่อสลับ ระหว่างหน้าจอทำถามและ Revit
6. ใช้ Copy and Paste ในการนำคำตอบจาก Revit มาใส่ในช่องคำตอบ
7. ใช้กระดาษที่ทางสนามสอบให้มาให้คุ้ม เช่นถ้ามีคำตอบที่ไม่แน่ใจให้เขียนคำตอบไว้แล้วกลับมาวิเคราห์อีกที่ถ้ามีเวลา
8. ใช้เครื่องคำนวณในตัวในเบราเซอร์ของข้อสอบ
9. อย่าเสียเวลากับการหาคำตอบมากเกินไป ประมาณ 3.5นาที ต่อหนึ่งข้อ ถ้าไม่แน่ใจให้ข้ามไปก่อนแล้วค่อยกลับมาทำ
10. สามารถหยุดเวลาเพื่อเข้าห้องน้ำได้
11. ใช้เวลาให้มีค่า ถ้ามีเวลาเหลือห้กลับมาตรวจสอบหัวข้อที่ไม่แน่ใจ
12. ไปสนามสอบก่อนเวลาสักครึ่งชั่วโมงเพื่อทำความคุ้นเคยกับสนามสอบ
13. ไม่ต้องถามคนข้างๆ เพราะข้อสอบออกไม่ตรงกัน มีการสลับข้อ บางครั้งคำถามเหมือนกันแต่คำตอบที่โจทย์ถามไม่เหมือนกัน
ทั้งหมดนี้ก็ต้องขอขอบคุณ
Aurecon Thailand ที่ให้โอกาศดีๆ ในการส่งไปเพิ่มเติมความรู้ในงาน Autodesk University Thailand 2017
Autodesk ที่ให้ของสมนาคุณ Voucher Autodesk Exam
M TECH ที่เอื้อเฟื้อสถานที่สอบ และอาหารกลางวัน
น้องใหน Paritta P ที่เป็นธุระจัดการทุกอย่างให้
น้องโอ๋ Suriyan N ที่ช่วยแนะแนว
หลังจากตกลงใจจะไปก็จัดการทำตามขั้นตอนด้านขวาของ Voucher ที่ได้มา...ไม่ผ่านครับ ไม่รู้เป็นไรระบบล่ม ก็เลยโทรไปที่ศูนย์สอบ ของ M-tech เพราะตั้งใจจะไปสอบที่นี่ซึ่งใกล้ที่สุด โดยติดต่อคุณ Paritta (น้องใหน) น้องเค้าก็ดี๊ดี ช่วยเหลือทุกอย่างเลย โดยจริงๆแล้ว เค้ามีวันที่ 19 แล ะ25 ที่จะเปิดสอบแต่น้องเค้าก็ขออนุญาตนายให้ เลยสรุปว่าจะเปิดวันสอบเพิ่มให้อีกวันคือ วันจันทร์ที่ 11 กันยา โดยจะสอบเช้าบ่ายวันเดียวเลยเพราะผมมีสองใบ หลังจากวางสายกับน้องใหนแล้ว ก็ถึงคราวโทรหา N' Suriyan (น้องโอ๋) เพื่อสอบถามแนวข้อสอบ น้องเค้าก็ดี๊ดี แนะนำแยะเลยครับตบท้ายด้วย พี่ผ่านอยู่แล้ว (พูดคำนี้มาเครียดเลยตู...รู้สึกกดดัน ตอนแรกยังรู้สึกสบายอยู่เลย)
วันสอบ...ตื่นตี 4:30 นอนไม่หลับ เลยออกเร็วหน่อยไปถึง 6 โมงครึ่ง (ตูมาทำบ้าไรแต่เช้าเนี้ย) เลยนอนในรถรอเวลา พอ 7 โมงครึ่งก็หาอาหารเช้ากับกาแฟกิน นั่งทบทวนถึง 9 โมง ลุย... ขึ้นไปพบน้องใหน (น่ารักอย่างที่คิดไว้) น้องเค้าแจ้งว่าระบบมีปัญหาพี่รอแป๊บน๊ะกำลังแก้อยู่ ต้อง Update ระบบก่อน (ได้เลยน้องพี่ไม่รีบมีเวลาทั้งวัน) น้องเค้าก็ดูแลดีแต่ระบบช้ามาก ก็รอจนได้สอบประมาณ 11 โมงครึ่ง คุณพอลเลยบอกให้น้องเค้าสั่งข้าวมาให้ทาน (โชคดีจริงวันนี้ สอบฟรี ข้าวฟรี จอดรถฟรี)
เริ่มสอบ Mechanical ก่อนเลย 35 ข้อ 120 นาที ภาษาอังกฤษล้วน(อันนี้น่าจะเป็นกำแพงขนาดใหญ่ที่คนส่วนใหญ่ไม่มาสอบกัน แต่แนะนำเลยครับคำถามไม่ยากครับใครทำ Revit ประจำๆน่าจะพอเดาได้) คะแนนต้องเกิน 700 แค่นี้สบาย...แต่ทำมายมือเย็น ใจเต้นเร็วหว่า สงสัยเป็นเพราะกาแฟเย็น กับแอร์ การสอบจะต้องสลับไปมาระหว่างหน้าจอคำถามและโปรแกรม Revit โดยกดปุ่ม Alt + Tab คำถามจะสั่งให้เปิดไฟล์แล้วให้ทำตามขั้นตอนต่างๆ แล้วก็ให้นำคำตอบมาใส่ในช่องว่าง ซึ่งสิ่งที่แตกต่างจากที่เคยสอบของ Architect เมื่อสองสามปีก่อนคือ เวลาใส่ตัวเลขจะมีหน่อยให้ว่าจะใส่ค่าของหน่อยอะไร และตัวเลขกี่ทศนิยมโดยแสดงเป็นสัญลักษณ์ ###.## แสดงว่าตัวเลขหน้าสามตัวทศนิยมสองตำแหน่ง ซึ่งอันนี้ช่วยได้มากในการเดาว่าเราตอบถูกหรือเปล่า คำถามบางข้อให้ทำตามขั้นตอนต่างๆ แต่ตอนถามดันถามไม่เกี่ยวกับสิ่งที่ให้ทำเลยก็มี บางข้อก็ให้เข้าไปถึง Family บางข้อก็ให้ทำตามแล้วจึงจะได้คำตอบออกมา บางข้อก็กำกวมมาก หลังจากทำไปถึงข้อ 35 ก็กด Next จะมีข้อความแจ้งว่าถ้ากด ต่อจะส่ง Submit คะแนนไปตรวจ ย้อนกลับมาไม่ได้แล้วน๊ะ ซึ่งเวลาผมเหลือตั้ง 2 นาที...กดเลย ไม่มีอะไรจะเสีย รอแก๊กนึง มีหน้าจอสีน้ำเงินขึ้นมา ตอนนี้เบลอไปหมดอ่านไม่รู้เรื่องเลยต้องตั้งสติดูใหม่ โอ้วตูได้ Passed แล้ว Score : 940
แม้งโคตรเดาเก่งเลย หมดแรงเลย กินข้าวฟรีดีกว่า กินไป 10 นาทีแบบเบลอๆ เสร็จแล้วเรียกน้องใหน ให้มาช่วยเปิดข้อสอบของ Electrical ต่อ น้องเค้าบอกว่าเดียวค่อยปริ้นใบ Certificate ทีเดียวเลยน๊ะพี่ (แหมพูดเป็นรางดี รู้ได้ไงว่าเราจะผ่าน)
เริ่มสอบ Electrical เหมือนเดิมครับแต่ไม่ค่อยเครียสเท่าไหร่ เพราะไม่ค่อยหวังอะไรมากขึ้เกลียดแล้วด้วย ทำไปประมาณ 50 นาทีเสร็จ กด Submit เลย โอ้วตูได้ Passed อีกแล้ว Score : 820 แม้งโคตรเดาเก่งเลย
หลังจากนั้นน้องเค้าก็มาเอาข้อมูลไปปริ้นให้ได้ใบ Certificate และ Score ออกมา แล้วก็ถ่ายรูปตามระเบียบ (เสียดายไม่ได้ถ่ายคู่น้องใหน) สรุปเสร็จตอน 4 โมงครึ่ง ถึงการสอบครั้งนี้จะมีอุปสรรค์บ้างนิดหน่อยแต่ก็มันส์ดี และจบลงได้ด้วยดี
เทคนิคในการทำข้อสอบ (เพิ่มเติมวันที่ 08-08-2018)
1. เปิดไฟล์ใหม่ทุครั้งในการทำข้อสอบหัวข้อใหม่ อย่าใช้อันเก่าที่ทำไปแล้วเพราะว่าบางครั้งเราแก้ไขค่าบางค่าไปแล้วทำให้อาจจะได้คำตอบที่ไม่ถูกต้อง
2. อ่านคำถามให้เข้าใจแล้วถึงเริ่มทำ (คำถามบางข้ออย่าคิดแยะ)
3. ทำตามทุกขั้นตอนที่โจทย์บอกให้ทำ
4. การเลือกคำตอบมาใส่ในช่องคำตอบ ให้ดูหน่วยที่เค้าต้องการให้ดี
5. ใช้ Alt + Tab เพื่อสลับ ระหว่างหน้าจอทำถามและ Revit
6. ใช้ Copy and Paste ในการนำคำตอบจาก Revit มาใส่ในช่องคำตอบ
7. ใช้กระดาษที่ทางสนามสอบให้มาให้คุ้ม เช่นถ้ามีคำตอบที่ไม่แน่ใจให้เขียนคำตอบไว้แล้วกลับมาวิเคราห์อีกที่ถ้ามีเวลา
8. ใช้เครื่องคำนวณในตัวในเบราเซอร์ของข้อสอบ
9. อย่าเสียเวลากับการหาคำตอบมากเกินไป ประมาณ 3.5นาที ต่อหนึ่งข้อ ถ้าไม่แน่ใจให้ข้ามไปก่อนแล้วค่อยกลับมาทำ
10. สามารถหยุดเวลาเพื่อเข้าห้องน้ำได้
11. ใช้เวลาให้มีค่า ถ้ามีเวลาเหลือห้กลับมาตรวจสอบหัวข้อที่ไม่แน่ใจ
12. ไปสนามสอบก่อนเวลาสักครึ่งชั่วโมงเพื่อทำความคุ้นเคยกับสนามสอบ
13. ไม่ต้องถามคนข้างๆ เพราะข้อสอบออกไม่ตรงกัน มีการสลับข้อ บางครั้งคำถามเหมือนกันแต่คำตอบที่โจทย์ถามไม่เหมือนกัน
Aurecon Thailand ที่ให้โอกาศดีๆ ในการส่งไปเพิ่มเติมความรู้ในงาน Autodesk University Thailand 2017
Autodesk ที่ให้ของสมนาคุณ Voucher Autodesk Exam
M TECH ที่เอื้อเฟื้อสถานที่สอบ และอาหารกลางวัน
น้องใหน Paritta P ที่เป็นธุระจัดการทุกอย่างให้
น้องโอ๋ Suriyan N ที่ช่วยแนะแนว
วันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2560
BIM Process by Revizto
ทุกวันคือการเรียนรู้...การทำงานโดยใช้ BIM เข้ามาช่วยทำงานปัจจุบันผมใช้ Revit ในการขึ้นโมเดลและทำ Document ก็คิดว่าพอแล้ว ต่อมาก็ต้องมาหัดใช้ Navisworks เพื่อช่วยในการ Review โมเดล และใช้ Clear Clash ก็คิดว่าพอแล้ว ต่อมาต้องหัดใช้ A360 เพื่อทำงานบน Cloud เพื่อทำงานเป็นกลุ่มใหม่ขึ้นนอกบริษัท ก็คิดว่าพอแล้ว
ซึ่งทั้งหมดที่ศึกษาและทำมาก็จะพบว่ามีปัญหาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น ตอนประชุมกัน Model ไม่ update, ไม่รู้ว่ามีคนแก้ปัญหา Clash ไปแล้วหรือยัง, หา email ว่าทำอะไรไปบ้างในแต่ละส่วน, ไม่รู้ว่าใครเป็นคนแก้, เสียเวลาส่ง email, ต้องประชุมพร้อมกันก่อนเพื่อแก้ไขแต่ละจุด ซึ่งกว่าจะถึงเรื่องของเราก็เสียเวลารอเป็นวันแต่คุย 10 นาที, หาตำแหน่ง Clash ไม่เจอใน Revit ทั้งหมดนี้สามารถแก้ได้โดยใช้ Revizto เข้ามาช้วยครับ
Revizto เป็นโปรแกรมเสริมที่นำเข้ามาใช้ช้วยแก้ปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมา โดยจะเพิ่มขั้นตอนจากปกติที่เราทำงานกันอยู่ เช่น Revit ขึ้นโมเดล Navisworks เช็ค Clash แล้วนำเข้า Revizto เพื่อทำการสร้าง Issue Tracker เพื่อกำหนดว่าใครต้องทำอะไร กำหนดวันเสร็จของการแก้ไข ถ้าติดปัญหาก็สามารถส่งต่อหรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องได้ เมื่อแก้ไขเสร็จแล้วจะมีการกำหนดสถาณะการทำงานว่า เสร็จแล้ว หรือกำลังทำอยู่ หรือไม่ต้องสนใจอีก โดยสามารถ Review โมเดลได้โดยไม่ต้องใช้ Revit หรือ Navisworks ง่ายในการใช้งานสามารถศึกษาได้ภายในวันเดียวก็ทำงานได้เลย (อันนี้จากประสบการณ์ตรง) อีกทั้ง ยังสามารถดูไฟล์ได้ทั้งแบบ 2D และ 3D โดยที่ในแบบ 2 มิติจะเหมือนกับการดู Pdf โดยสามารถ Export แบบเป็น Sheet จาก Revit ได้เลย และ 3 มิติ จะเหมือนกับการทำงานใน Navisworks
ที่เด็ดที่สุดคือเมื่อเราเห็นมุมมองใน Revizto แล้วสามารถสั่งให้โปรแกรม เปิดที่ Review ณ ตำแหน่งเดียวกันได้เลยโดยไม่ต้องเสียเวลาหาตำแหน่งนั้นๆ อีกเหมือน Switch Back ใน Navisworks ได้เลยครับเพียงแต่ว่าดีกว่าตรงที่ได้มุมมองเดียวกันเลยโดยไม่เกี่ยวกับการเลือกวัตถุ
ทุกว้นคือการเรียนรู้...ไม่รู้จะอะไรต่อ
ซึ่งทั้งหมดที่ศึกษาและทำมาก็จะพบว่ามีปัญหาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น ตอนประชุมกัน Model ไม่ update, ไม่รู้ว่ามีคนแก้ปัญหา Clash ไปแล้วหรือยัง, หา email ว่าทำอะไรไปบ้างในแต่ละส่วน, ไม่รู้ว่าใครเป็นคนแก้, เสียเวลาส่ง email, ต้องประชุมพร้อมกันก่อนเพื่อแก้ไขแต่ละจุด ซึ่งกว่าจะถึงเรื่องของเราก็เสียเวลารอเป็นวันแต่คุย 10 นาที, หาตำแหน่ง Clash ไม่เจอใน Revit ทั้งหมดนี้สามารถแก้ได้โดยใช้ Revizto เข้ามาช้วยครับ
Revizto เป็นโปรแกรมเสริมที่นำเข้ามาใช้ช้วยแก้ปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมา โดยจะเพิ่มขั้นตอนจากปกติที่เราทำงานกันอยู่ เช่น Revit ขึ้นโมเดล Navisworks เช็ค Clash แล้วนำเข้า Revizto เพื่อทำการสร้าง Issue Tracker เพื่อกำหนดว่าใครต้องทำอะไร กำหนดวันเสร็จของการแก้ไข ถ้าติดปัญหาก็สามารถส่งต่อหรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องได้ เมื่อแก้ไขเสร็จแล้วจะมีการกำหนดสถาณะการทำงานว่า เสร็จแล้ว หรือกำลังทำอยู่ หรือไม่ต้องสนใจอีก โดยสามารถ Review โมเดลได้โดยไม่ต้องใช้ Revit หรือ Navisworks ง่ายในการใช้งานสามารถศึกษาได้ภายในวันเดียวก็ทำงานได้เลย (อันนี้จากประสบการณ์ตรง) อีกทั้ง ยังสามารถดูไฟล์ได้ทั้งแบบ 2D และ 3D โดยที่ในแบบ 2 มิติจะเหมือนกับการดู Pdf โดยสามารถ Export แบบเป็น Sheet จาก Revit ได้เลย และ 3 มิติ จะเหมือนกับการทำงานใน Navisworks
ที่เด็ดที่สุดคือเมื่อเราเห็นมุมมองใน Revizto แล้วสามารถสั่งให้โปรแกรม เปิดที่ Review ณ ตำแหน่งเดียวกันได้เลยโดยไม่ต้องเสียเวลาหาตำแหน่งนั้นๆ อีกเหมือน Switch Back ใน Navisworks ได้เลยครับเพียงแต่ว่าดีกว่าตรงที่ได้มุมมองเดียวกันเลยโดยไม่เกี่ยวกับการเลือกวัตถุ
ทุกว้นคือการเรียนรู้...ไม่รู้จะอะไรต่อ
วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2560
Navisworks Properties+ Add-in สำหรับช่วยดูข้อมูล
เวลาดูข้อมูลในช่อง Properties ใน Navisworks ดูจะสับสนวุ่นวายเหลือเกิน เราสามารถจัดการกับมันได้โดยใช้ Add-in ชือ Properties+ ฟรีจาก Autodesk App Store หรือจากลิงค์นี้ https://apps.autodesk.com/NAVIS/en/Home/Index?from=infocenter
ชีวิตดีขึ้นเลยทีนี้ เลือกข้อมูลที่จะดูได้เลย โดย Properties+ สามารถจัดการแสดงผลเป็นหมวดหมู่ และเลือกเอาเฉพาะข้อมูลที่เราจะดูได้ ดูจากภาพด้านล่างในส่วนของ Typical นั้นจะเป็นการแสดงข้อมูลของ Naviswork ซึ่งจะนำข้อมูลมาแสดงกระจัดกระจาย (ลองหาวิธีให้มันเรียงตามตัวอักษรแล้วยังหาไม่เจอ) แต่ของ Properties+ ผมเลือกแสดงเฉพาะบาง Parameter จาก Revit เท่านั้น และ Hyperlinks ต่างๆ ข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่ผมทดสอบดูคือ ถ้ามีการใช้ลิงค์ภายในเครื่องเรา หรือ Server ภายในองค์กรจะไม่สามารถกดที่ลิงค์แล้วเชื่อมต่อไปที่ไฟล์ได้แต่ถ้าไฟล์ลิงค์อยู่ใน internet เช่น ผมเก็บไฟล์ไว้ที่ Dropbox เราสามารถคลิกเลือกที่ Hyperlink ได้เลยครับมันจะเปิดเอกสารที่มีการลิงค์ให้
ลองหามาเล่นดูครับใช้ได้ตั้งแต่ Navisworks 2015 - 2018
ชีวิตดีขึ้นเลยทีนี้ เลือกข้อมูลที่จะดูได้เลย โดย Properties+ สามารถจัดการแสดงผลเป็นหมวดหมู่ และเลือกเอาเฉพาะข้อมูลที่เราจะดูได้ ดูจากภาพด้านล่างในส่วนของ Typical นั้นจะเป็นการแสดงข้อมูลของ Naviswork ซึ่งจะนำข้อมูลมาแสดงกระจัดกระจาย (ลองหาวิธีให้มันเรียงตามตัวอักษรแล้วยังหาไม่เจอ) แต่ของ Properties+ ผมเลือกแสดงเฉพาะบาง Parameter จาก Revit เท่านั้น และ Hyperlinks ต่างๆ ข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่ผมทดสอบดูคือ ถ้ามีการใช้ลิงค์ภายในเครื่องเรา หรือ Server ภายในองค์กรจะไม่สามารถกดที่ลิงค์แล้วเชื่อมต่อไปที่ไฟล์ได้แต่ถ้าไฟล์ลิงค์อยู่ใน internet เช่น ผมเก็บไฟล์ไว้ที่ Dropbox เราสามารถคลิกเลือกที่ Hyperlink ได้เลยครับมันจะเปิดเอกสารที่มีการลิงค์ให้
ลองหามาเล่นดูครับใช้ได้ตั้งแต่ Navisworks 2015 - 2018
วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
Revit Dynamo ช่วย Check Clash
Revit และ Navisworks สามารถช่วยเราทำงานได้บ้างอย่าง แต่บางครั้งก็ไม่ตอบสนองได้เพียงพอ เราอาจนำตัวช่วยอย่างอื่นเช่น Dynamo มาช่วยทำงานได้เช่น จากภาพตัวอย่างด้านล่างเราใช้ Revit ในการสร้าง Model และนำไป check clash เมื่อได้ตำแหน่งที่มีการปะทะกันเป็น report ก็ใช้ Dynamo เปลี่ยนค่าให้แสดงตำแหน่งที่ Revit เพื่อจะได้แก้ไขในตำแหน่งที่มีปัญหาโดยไม่ต้องกลับไปดูที่ Navisworks อีกซึ่งจะช่วยลดเวลาในการหาตำแหน่งใน Revit ได้มากและประหยัดตังค์ในการซื้อ Navisworks Manage มาใช้งานอีกด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูลเพิ่มเติม
How to visualize clash into revit with Dynamo
https://knowledge.autodesk.com/support/revit-products/learn-explore/caas/screencast/Main/Details/9cfe3fad-3432-4d07-9110-c4a14a7af2c4.html
วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
Revit การกำหนด Section ของแต่ละระบบ
การทำงานร่วมกันสำหรับโครงการที่มีขนาดใหญ่ จะมีปัญหาเรื่องการ Section เพราะต่างคนต่างทำแล้วไม่ได้ลบออก และเพราะอาจจะไปลบของคนอื่นได้เลยทิ้งเอาไว้ พอนานเข้าก็มี Section เป็นจำนวนมาก จนเกิดความสับสน และไม่สะดวกในการใช้งาน เราสามารถแก้ไขได้โดยการ สร้าง Section เป็นชื่อระบบต่างๆ และใช้ Filter ในการควบคุมการแสดงผลให้แสดงเฉพาะงานหรือแปลนที่เราทำงานระบบนั้นๆ เช่น ถ้าเราทำระบบไฟฟ้า เราก็สร้าง Section ของระบบไฟฟ้า และควบคุมการแสดงผลให้เห็นของระบบไฟฟ้าที่แปลน เมื่อระบบอื่นสร้าง Section ก็จะไม่แสดงที่ระบบของเรา ทั้งนี้ต้องมีการพูดคุยและตกลงกันก่อนเพื่อจะได้ไปในทิศทางเดียวกัน
วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
Revit การใช้ Group กับโครงการที่มีการแบ่ง Model
โครงการขนาดใหญ่อาจมีการแบ่ง Model เป็นหลายๆ Model เพื่อให้ขนาดไฟล์มีขนาดเล็ก และคล่องตัวในการทำงาน แต่จะมีปัญหาที่พบบ่อยคือ เมื่อมีบางส่วนของพื่้นที่เหมือนกัน เมื่อทำการแก้ไขจะต้องแก้ที่ Model อื่นๆด้วย ทุก Model เราจึงควรใช้ Group เข้ามาช่วยในการทำงาน เพื่อที่จะประหยัดเวลา และความถูกต้อง โดยวิธีการคือ สร้าง Group แล้ว save ออกเป็นไฟล์ แล้วนำไปใช้ที่ไฟล์อื่น เมื่อมีการแก้ไขให้แก้ไขตามที่ต้องการแล้วทำการ save ออกทับที่ไฟล์เดิม แล้ว Reload เข้ามาใน Model ที่ต้องการแก้ไข
A การ Save Group ออกเป็นไฟล์
1. สร้าง Model ที่ต้องการแล้ว กำหนดให้เป็น Group
2. เลือกที่ Project Browser เลือก Groups > Model > เลือก Group ที่ต้องการ
3. Save Group... เลือก Folder ที่จะเก็บไฟล์ Group
B การนำ Group เข้ามาใช้งาน
1. เปิดไฟล์ที่ต้องการนำ Group เข้ามาใช้
2. Inset Tab > Load from Library > Load as Group
3. วาง Group ไว้ตามตำแหน่งที่ต้องการ
การแก้ไข Group
1. Edit Group ตามต้องการ แล้วทำการ Save Group ออกทับชื่อเดิมที่สร้างไว้ ตาม A
2. เปิดไฟล์ที่ต้องการ Update
3. เลือกที่ Project Browser เลือก Groups > Model > เลือก Group แล้วคลิกขวา เลือก Reload...
4. เลือก Group ที่ต้องการ Update
จากวิธีการดังกล่าง เราสามารถเก็บไฟล์ Group ที่เป็นต้นฉบับไว้ก่อนได้เพื่อถ้าต้องการจะใช้แบบเดิม เราก็เพียงแต่ Reload กลับเข้าไปใน Model ไม่ต้องเสียเวลาแก้ไปแก้มาอีก
A การ Save Group ออกเป็นไฟล์
1. สร้าง Model ที่ต้องการแล้ว กำหนดให้เป็น Group
2. เลือกที่ Project Browser เลือก Groups > Model > เลือก Group ที่ต้องการ
3. Save Group... เลือก Folder ที่จะเก็บไฟล์ Group
B การนำ Group เข้ามาใช้งาน
1. เปิดไฟล์ที่ต้องการนำ Group เข้ามาใช้
2. Inset Tab > Load from Library > Load as Group
3. วาง Group ไว้ตามตำแหน่งที่ต้องการ
การแก้ไข Group
1. Edit Group ตามต้องการ แล้วทำการ Save Group ออกทับชื่อเดิมที่สร้างไว้ ตาม A
2. เปิดไฟล์ที่ต้องการ Update
3. เลือกที่ Project Browser เลือก Groups > Model > เลือก Group แล้วคลิกขวา เลือก Reload...
4. เลือก Group ที่ต้องการ Update
จากวิธีการดังกล่าง เราสามารถเก็บไฟล์ Group ที่เป็นต้นฉบับไว้ก่อนได้เพื่อถ้าต้องการจะใช้แบบเดิม เราก็เพียงแต่ Reload กลับเข้าไปใน Model ไม่ต้องเสียเวลาแก้ไปแก้มาอีก
Navisworks กำหนดการแสดงผล จาก Revit ที่ใช้คำสั่ง Divide Part
ใน Revit มีคำสั่งในการแบ่งวัตถุ ออกเป็นส่วนๆ ด้วยคำสั่ง Divide Part แต่เมื่อจะนำมาแสดงใน Navisworks จำเป็นจะต้องกำหนดค่า Option เสียก่อนเพื่อจะได้เห็นวัตถุตัดตาม Revit โดยกำหนด Options Editor > File Readers > Revit > กำหนดเลือก Convert construction parts แล้วจึงทำการ Append ไฟล์ Revit เข้ามาใช้งาน
วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2560
Bluebeam การใช้ Overlay Pages... เพื่อการตรวจสอบความแตกต่างของแบบ
โปรแกรม Bluebeam นอกจากจะใช้เพื่อจัดการกับไฟล์ PDF แล้ว คุณสมับัติอย่างนึงที่ดีมากๆ คือการเปรียบเที่ยบความแตกต่างของแบบโดยการเอาแบบเก่า และใหม่มาเปรียบเทียบกัน ซึ่งสามารถทำได้โดย Document Tab > Compare > Overlay Pages.... ผลที่ได้คือโปรแกรมจะนไ PDF สองแผ่นมาเปรียบเทียบกันว่าแตกต่าง ที่ตำแหน่งใดบ้าง ซึ่งสะดวกมากในการทำงาน และยังสามารถทำการ Compare ที่ละหลายๆ หน้าพร้อมๆกันได้อีกด้วยโดยการ ใช้ Batch Overlay
วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560
Revit Reconcile Hosting ช่วยตรวจสอบ Room Tag
เมื่อมีการ Update Architect สิ่งหนึ่งที่มีปัญหาคือเมื่อ ห้องมีการแก้ไข, ลบ หรือ ย้าย Room Space ทำให้ Room Tag ไม่สามารถหาพื้นที่ห้องนั้นๆได้ โดยจะแสดงผลเป็นเครื่องหมาย ? เราสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้ Collaborate Tab > Coordinate > Reconcile Hosting
ซึ่งจะมีรายงานว่ามี Tag ใดบ้างที่ไม่สามารถหาวัตถุอ้างอิงพบ เราก็เพียงแต่เลือกที่รายงานแล้วเรียกคำสั่ง Show โปรแกรมจะเปิด View ที่มี Tag นั้นอยู่เพื่อให้เราตรวจสอบและแก้ไขต่อไป ทำให้รวดเร็วกว่าการเปิด View ที่ล๊ะ View เพื่อตรวจสอบ
ซึ่งจะมีรายงานว่ามี Tag ใดบ้างที่ไม่สามารถหาวัตถุอ้างอิงพบ เราก็เพียงแต่เลือกที่รายงานแล้วเรียกคำสั่ง Show โปรแกรมจะเปิด View ที่มี Tag นั้นอยู่เพื่อให้เราตรวจสอบและแก้ไขต่อไป ทำให้รวดเร็วกว่าการเปิด View ที่ล๊ะ View เพื่อตรวจสอบ
วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560
Revit ช่วยลดความผิดพลาดที่ไม่ได้ตั้งใจด้วยการ Lock Workset
การทำงานหลายๆ คนใน Project เดียวกันจะเกิดความผิดพลาดโดยที่ไม่ได้ตั้งใจได้ เช่น การย้าย Gridline , Level หรือแม้แต่เลื่อนตำแหน่งของไฟล์ที่ Link เข้ามา เราสามารถใช้คำสั่ง Workset เข้ามาช่วยโดยกำหนด Lock การทำงานซึ่งทำได้โดย กำหนดชื่อเป็น Admin เพื่อให้สามาชิกในทีมไม่สามารถเลื่อนหรือ จัดการกับ Workset นี้ได้
1. กำหนดชื่อ User เป็น Admin โดยแก้ที่ Options > General > Username ใส่ชื่อ Admin
2. Open ไฟล์ที่เราทำงาน (สังเกตไฟล์ Local จะเป็นชื่อ Admin)
3. เรียกคำสั่ง Workset
4. เลือก Shared Levels and Grids แล้วกด Editable แล้วกด OK
5. Synchronize ไฟล์
6. ปิดไฟล์โดยไม่ต้องทำการ Relinquish โดยกดปุ่ม Keep ownership of element and worksets
7. เปลี่ยน User กลับเป็นชื่อเดิม เพื่อทำงานตามปกติ
เพียงเท่านี้ไฟล์ของเราก็จะถูกป้องการการย้าย Gridline และ Level โดยไม่ได้ตั้งใจ จนกว่าเราจะใช้ชื่อ Admin เข้ามาทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลง
อ้างอิงข้อมูลจาก Revit Tips, Tricks, and Troubleshooting ของ Paul F. Aubin
1. กำหนดชื่อ User เป็น Admin โดยแก้ที่ Options > General > Username ใส่ชื่อ Admin
2. Open ไฟล์ที่เราทำงาน (สังเกตไฟล์ Local จะเป็นชื่อ Admin)
3. เรียกคำสั่ง Workset
4. เลือก Shared Levels and Grids แล้วกด Editable แล้วกด OK
5. Synchronize ไฟล์
6. ปิดไฟล์โดยไม่ต้องทำการ Relinquish โดยกดปุ่ม Keep ownership of element and worksets
7. เปลี่ยน User กลับเป็นชื่อเดิม เพื่อทำงานตามปกติ
เพียงเท่านี้ไฟล์ของเราก็จะถูกป้องการการย้าย Gridline และ Level โดยไม่ได้ตั้งใจ จนกว่าเราจะใช้ชื่อ Admin เข้ามาทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลง
อ้างอิงข้อมูลจาก Revit Tips, Tricks, and Troubleshooting ของ Paul F. Aubin
วันอังคารที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2560
Revit ประโยชน์ของการใช้ Copy/Monitor กับเส้น Level
โดยปกติในการเริ่มการทำงานของระบบ MEP เราจะเริ่มโดยการ Link Architect Model เข้ามาในไฟล์ของเราแล้วสร้างเส้น Level ด้วยคำสั่ง Copy/Monitor ซึ่งจะอยู่ในส่วนของเมนู Collaborate ซึ่งวิธีนี้จะมีข้อดีคือ รวดเร็ว และไม่ต้องสร้างเส้น Level เองเพราะอาจจะผิดได้ และที่สำคัญคือเมื่อ Architect มีการแก้ไข Level เราสามารถจะใช้ Coordination Review เพื่อตรวจสอบว่า Level ใดมีการแก้ไขบ้าง และยังสามารถจะใช้ข้อมูลที่ได้มาตัดสินใจว่าจะทำการแก้ไขอย่างไรต่อไป
วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560
Revit เขียนตัวเลขแทนค่าที่เส้น Dimension
เราสามารถใส่ค่าตัวเลขที่เราต้องการทับค่าที่ dimension วัดได้ หรือแม้แต่ใส่เป็นเส้นช่องว่างเปล่าๆ ได้โดย
1. คลิกสองครั้งที่เส้น dimension
2. เลือกหัวข้อ Replace With Text
3. คลิกขวาในช่องว่าง เลือก Insert Unicode control character แล้วเลือก US Unit Sparator (segment separator)
4. พิมพ์ตัวเลขที่ต้องการ หรือกด space bar ถ้าไม่ต้องการแสดงตัวเลขใดๆ
5. เสร็จแล้วกด OK
1. คลิกสองครั้งที่เส้น dimension
2. เลือกหัวข้อ Replace With Text
3. คลิกขวาในช่องว่าง เลือก Insert Unicode control character แล้วเลือก US Unit Sparator (segment separator)
4. พิมพ์ตัวเลขที่ต้องการ หรือกด space bar ถ้าไม่ต้องการแสดงตัวเลขใดๆ
5. เสร็จแล้วกด OK
วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
Revit Family กำหนดค่า Keep text readable
การกำหนด Keep text readable คือกำหนดให้ตัวอักษรหมุนไปตามการวางวัตถุ หรือจะให้หมุนเฉพาะด้านบนและด้านซ้าย (แนะนำให้ใช้เพราะถูกตามหลักเขียนแบบ) วิธีการกำหนดทำได้โดยเลือก Edit Family ที่ต้องการ เลือก Family Category and Parameters เลือก keep text readable
วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
Navisworks การเรียงไฟล์ที่ดึงเข้ามา
ในการ Append ไฟล์เข้าทำงานของ Navisworks ไฟล์ที่นำเข้ามาใน Selection Tree จะไม่เรียงลำดับตามตัวอักษรให้เราแต่จะเรียงลำดับการที่เรานำไฟล์เข้ามา ซึ่งอาจจะทำให้เราทำงานลำบากในการไล่ดูชื่อไฟล์ เราสามารถบอกให้โปรแกรมเรียงลำดับได้โดยการคลิกขวาที่ ไฟล์ใน Selection Tree เลือก Scene และเลือก Sort ซึ่งเมื่อเราเรียงลำดับใหม่แล้วจะไม่สามารถใช้คำสั่งย้อนให้กลับเป็นเหมือนเดิมได้
วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560
Navisworks การปรับให้การแสดงผลดูมีมิติมากขึ้น
Navisworks เป็นโปรแกรมที่ดีมากตัวนึง ซึ่งเราสามารถใช้เพื่อพริเซ้นท์ให้ลูกค้าดูได้เลย โดยเราควรปรับค่าให้เห็นแสงเราเพื่อเพิ่มมิติให้งานเราดูดีมากขึ้น ซึ่งทำได้โดยกำหนดที่ Options > Interface > Display > Autodesk แล้วกำหนดเปิดการใช้งาน Screen Space Ambient Occlusion แค่นี้งานเราจะดูดีมากแล้วครับ
Revit Family กำหนด Category เป็น Pipe Accessories
ความพิเศษอย่างนึงของการเลือก Family Category ให้ถูกต้องในการสร้าง Family คือจะมี Parameters ต่างๆ ได้ถูกกำหนดไว้ในแต่ Category เช่น เมื่อเราเลือกเป็น Pipe Accessories แล้วโปรแกรมจะใส่ค่า Flip และ Rotate มาให้เองเมื่อเราโหลดเข้าไปใช้ใน Project
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)